เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 13

วันที่ 25 มกราคม 2556



 อาจารย์ยกตัวอย่าง Mind Mapping เรื่อง "ไข่"   
วิธีการเลือกหน่วยที่นำมาใช้สอนกับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
  1. เรื่องใกล้ตัว
  2. มีประโยชน์กับเด็ก
  3. เด็กรู้จัก
  4. เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
  5. เป็นเรื่องง่ายๆเด็กสามารถทำได้
  6. เหมาะสมกับวัยของเด็ก
  7. มีความสำคัญกับเด็ก
  8. คำนึงถึงผลกระทบ
       ตัวอย่างเช่น คุณครูอาจจะยกตัวอย่างของวันจันทร์ - วันศุกร์ ในเรื่องของ "ไข่" นำมาบูรณาการเข้ากับหน่วยการสอน เช่น
วันจันทร์   เรียนเกี่ยวกับ ชนิดของไข่
วันอังคาร เรียนเกี่ยวกับ ลักษณะของไข่ เช่น ไข่เป็ดมีสีขาว ส่วนไข่ไก่มีสีครีม  หรือ ถามเด็กว่าขนาดของไข่เท่ากันไหม เป็นต้น
  หมายเหตุ  การบ้านอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน ทำ Mind Mapping เรื่องเกณฑ์ และตัวชี้วัด คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่งสัปดาห์หน้า

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

แก้ไข Ming Mapping

วันที่ 25 มกราคม 2556



         ส่ง Mind Mapping เสร็จเรียบร้อยพร้อมกับแนบงานเดียวส่ง

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 12

วันที่ 18 มกราคม 2556




กิจกรรมในห้องเรียนอาจารย์ให้ส่ง Mind Mapping งานกลุ่มพร้อมกับแนบงานเดียวส่ง
แล้ว อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในผลงานที่นักศึกษาส่ง
           วิธีการเลือกของหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
              1. เรื่องใกล้ตัว
              2. มีประโยชน์กับเด็ก
              3. เด็กรู้จัก
              4. เสริมสร้างพัฒนาการ
              5. เป็นเรื่องง่ายๆ เด็กทำได้
              6. เหมาะสมกับวัยของเด็ก
              7. มีความสำคัญกับเด็ก
              8. มีผลกระทบกับเด็ก
              *  ถ้าเด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันดับแรก ครูควรสำรวจโรงเรียนว่าอะไรที่จะสามารถนำมาบูรณาการได้ ที่ทำให้เด็กเข้าใจและตามกำลังเราเท่าที่ครูคนหนึ่งทำได้

การประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์ที่นำมาแก้ไข


วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 11

วันที่ 11 มกราคม  2556

 


-->
          อาจารย์ให้ส่งชิ้นงานกลุ่มที่ให้แต่ละกลุ่มไปรับผิดชอบ 
         กลุ่มที่ 1 ประดิษฐ์ลูกคิดจากสิ่งของเหลือใช้ สอนในเรื่อง การนับ จำนวน  
การดำเนินการควรมีการปรับและแก้ไขงานให้ตรงกับวัย  ซึ่งวัยนี้ยังไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถเข้าใจในตัวเลขและนามธรรมแต่เด็กจะเรียนรู้จาก สัญลักษณ์ และเด็กจะต้องเห็นเป็นรูปธรรม สิ่งที่เด็กเห็นและเรียนรู้ต้องเป็นของจริงจับต้องได้และมีมิติ
         กลุ่มที่ 2 ประดิษฐ์การนำเสนอข้อมูลเป็นกราฟ  ซึ่งตรงกับมาตรฐานที่ 6 คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ตรงกับ อาจารย์เยาวภาและอาจารย์นิตยา ได้ให้นิยามไว้
         กลุ่มที่ 3 ประดิษฐ์ปฎิทิน (ซึ่งเป็นกลุ่มของดิฉัน) วันและเดือน สอนในเรื่องการนับ  จำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม สัญลักษณ์ ปริมาณ หมายเหตุ ควรจะใส่วันเกิดเด็กลงไปในปฎิทิน หรือเลือกประสบการณ์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น วันที่ 1 อากาศเป็นอย่างไรและแปะลงไปในปฎิทิน แต่ไม่ควรถามวันเสาร์ วันอาทิตย์ เพราะแหล่งข้อมูลของเด็กจะไม่ตรงกัน พอสิ้นเดือนก็ถามว่าเดือนนี้มีท้องฟ้าแจ่มใสกี่วัน ฝนตกกี่วัน ทำให้สามารถเชื่อมโยงกับลูกคิดของเพื่อนกลุ่มที่ 1 และกราฟของกลุ่มที่ 2 ได้ค่ะ 
       อาจารย์ให้กลับไปแก้ไขปรับปรุงผลงานกลุ่มของตนเองให้เรียบร้อย
      งานที่ได้รับหมอบหมาย  การบ้าน จับกลุ่ม 5 คนทำ my map หน่วย สาระ ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำเรื่องเกี่ยวกับกล้วย

สัปดาห์ที่ 10

วันที่ 4 มกราคม  2556




     หมายเหตุ  อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์ที่แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่