เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 9

28 ธันวาคม  2555




หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค และเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่นักศึกษาทุกคนเลยต่างกลับต่างจังหวัดกันค่ะ

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 8

วันที่ 21 ธันวาคม  2555

 

                                                                          ตารางสอบ
รหัสวิชา
ชื่อวิชา
กลุ่ม
สอบกลางภาค
สอบปลายภาค
  GEEN1101  
English for Advanced Communication
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารขั้นสูง
102
(C) 21 ธ.ค. 2012
เวลา 08:30-10:00
ห้อง 15-0603 ที่นั่ง -30
-
  EDUC2201  
Curriculum Development
การพัฒนาหลักสูตร
102
(C) 24 ธ.ค. 2012
เวลา 08:30-10:30
ห้อง 2852 ที่นั่ง -82
-

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค

สัปดาห์ที่ 7

วันที่ 14 ธันวาคม  2555


   - อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน
   - อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องเกณฑ์หรือมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น มาตรฐานของอาหารที่เรารับประทานในแต่ละมื้อ และมาตรฐานของมหาวิทยาลัยที่เรากำลังศึกษา เป็นต้น
   - อาจารย์อธิบายถึงมาตรฐานสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
  
     สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวน และความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการ
ต่าง ๆ และสามารถเลือกใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณ และแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวน และสามารถนำสมบัติที่เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
     สาระที่ 2 : การวัด (Measurement)
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 วัด และคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค 2.4 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
  -  ต่อจากนี้อาจารย์ให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ
  -  ในชั่วโมงเรียนต่อไป(หลังปีใหม่) อาจารย์ให้ส่งสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พร้อมออกมานำเสนอทุกกลุ่ม



วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6


วันที่ 7 ธันวาคม 2555




                ..อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องมาคนล่ะ 1 กล่อง จากนั้นอาจารย์ก็อธิบายเกี่ยวกับกล่อง


              เรื่องรูปทรง ปริมาณ ขนาด การจับคู่ เศษส่วน การทำตามแบบครูทำให้เด็กดูแล้วให้เด็กเรียงตาม การอนุรักษ์่   ซึ่งกล่องสามารถเป็นเครื่องมือในการสอนคณิตศาสตร์ได้

จากนั้น อาจารย์ถามนักศึกษา..แล้วให้นักศึกษาบอกว่ากล่องที่เรานำมามีลักษณะคล้ายกับอะไร (ดิฉันให้ชื่อกล่องที่ดิฉันนำมาเปรียบเสมือนกับทีวี เพราะรูปทรงกล่องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็นสามกลุ่ม โดยแต่ล่ะกลุ่มมีสมาชิกในกลุ่ม 11 คน
กลุ่มที่ 1 คุยกันได้ วางแผนกันก่อน ( ประดิษฐ์เป็นรูปคน )
กลุ่มที่ 2 คุยกันไม่ได้ ลงมาติดที่ละคน ( ประดิษฐ์เป็นสถานีรถไฟ )
กลุ่มนี้ห้ามพูด ซึ่งเป็นกลุ่มของดิฉัน
กลุ่มที่ 3 คุยกันได้ ( ประดิษฐ์เป็นตึกหลากสี)
                                                      
       ซึ่งแต่ละกลุ่มจะเกิดปัญหาที่แตกต่างกัน และมีวิธีแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกันตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้
    
      *ถ้าเด็กมีประสบการณ์มากก็เกิดการเรียนรู้มาก และมีความคิดสร้างสรรค์
  
ภาพบรรยากาศ



                                     เพื่อนๆส่งผลงานของแต่ล่ะกลุ่มค่ะ  (ความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศค๊า) การบ้าน....เป็นงานกลุ่มที่อาจารย์แบ่งให้แต่ล่ะกลุ่มรับผิดชอบ มี 3 ชิ้นงานซึ่งกลุ่มหนึ่งจะได้ทำ 1 ชิ้นงาน

สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555


      
               นิยามของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความหมายของนักศึกษากลุ่มเรียน 102 
        อ้างอิงจาก(นิตยา ประพฤติกิจ 2541 : 1-19)   กล่าวไว้ดังนี้
      
       1.)   การนับ
       2.)   ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ทางภาษาที่ไว้สำหรับเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่เป็นสากล
       3.)  การจับคู่  คือ การจับคู่รูปร่าง , รูปทรง ,จำนวนที่เท่ากัน , เลขคู่ , เลขคี่ 
            -  จับคู่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น เครื่องหมาย + กับเครื่องหมาย  +
            -  จับคู่สูง ต่ำ
      4.)  การจัดประเภท คือ การกำหนดเกณฑ์ขึ้น แต่ต้องเป็นเกณฑ์เดียว
      5.)  การเปรียบเทียบ คือ การหาปริมาณแล้วนำค่านั้นมาเปรียบเทียบ  เช่น การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยการลบเลข  แล้วนำค่าที่ได้นั้นมาเปรียบเทียบ
      6.)  การจัดลำดับ โดยการหาค่าปริมาณ นำมาเปรียบเทียบ วางเรียงลำดับ และนำตัวเลขมากำกับลำดับ
      7.)  รูปทรงและเนื้อที่
      8.)  การวัด  คือการหาค่าที่เป็นปริมาณ ฯลฯ  เครื่องมือในการวัด มี ไม้บรรทัด  ตะลับเมตร  สายวัด หน่วย  เป็นต้น
      9.)  เชต คือ การเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องนั้นๆซึ่งเป็นการสอนเรื่องเชตอย่างง่าย
     10.)  เศษส่วน
     11.)   การทำตามแบบหรือลวดลาย เช่น การเขียนตัว A
     12.)  การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
            (เยาวพา เดชะคุปต์ ได้ให้ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้)
     1.) การจัดกลุ่มหรือเชต  ได้แก่  การจับคู่  1: 1 , การจับคู่สิ่งของ , การรวมกลุ่ม  กลุ่มที่เท่ากันและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
     2.)  จำนวน 1- 10  เช่น การฝึกนับ 1- 10  จำนวนคู่ จำนวนคี่
     3.)  ระบบจำนวน และชื่อของตัวเลข  เช่น  1 = หนึ่ง  2 = สอง
     4.)  ความสัมพันธ์ระหว่างเชตต่างๆ เช่น เชตรวม  การแยกเชต ฯลฯ
     5.)  คุณสมบัติของคณิตศาสตร์ จากการรวมกลุ่ม
     6.)  ลำดับที่สำคัญและประโยชน์ ได้แก่ ประโยชน์คณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน  ปริมาณ คุณภาพต่างๆ
     7.)  การวัด
     8.)  รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบ  รูปร่าง  ขนาดระยะทาง  เช่น รูป
     9.)  สถิติและกราฟ  ได้แก่  การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ  การเปรียบเทียบต่างๆ
      จากความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ (นิตยา ประพฤติกิจ และ เยาวพา เดชะคุปต์)  ที่ได้กล่าวไว้มีข้อที่แตกต่างกันอยู่สองเรื่อง คือเรื่อง สถิติ กับ กราฟ

      หมายเหตุ  อาจารย์ให้จับคู่ทำงาน  ให้ทำนิยามของคณิตศาสตร์ 12 ข้อ ซึ่งคู่ของดิฉันทำเรื่อง ดอกไม้

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4

วันที่ 23 พฤศจิกายน  2555



ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะศึกษาสตร์ กำหนดจัด "โครงการกีฬาสีสัมพันธ์"

ข้าพเจ้าเข้าร่วมกิจกรรมสแตนเชียร์ค่ะ  (ชนะเลิศ) - -!

บรรยากาศภายในงานกีฬาสี  มันมั๊กมากๆๆๆๆๆๆ

สีฟ้าทำการแสดง

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 16 พฤศจิกายน  2555


อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มโดย แบ่งกลุ่มละ 3  คน  กลุ่ม   โดยสรุปเนื้อหาของคณิตสาสตร์ไว้ดังนี้ 
สรุปโดย    นางสาวปรางค์ทิพย์  แก้วมาเมือง
                  นางสาวพริพย์  ศรีแก้ว
                  และนางสาวกานต์ชนก  ขุนวัง
        ความหมายของคณิตศาสตร์  คือ คณิตศาสตร์เป็นการส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้  ที่สอดคล้องเข้าในเรื่องของตัวเลข และจำนวน คณิตสาสตร์ใช้ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา  เช่น ดูเวลา ระยะทาง เป็นต้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือที่สร้างเสริมทักษะด้านต่างๆ รวมไปถึงกิจวัตรประจำวัน  และยังเป็นการวางแผน แก้ไขปัญหา ได้เรียนรู้ แล้วพัฒนาความคิดรวมยอด
 อ้างอิงจาก  นิตยา  ประพฤติกิจ  (2541) . คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย . 
                     นศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551).การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
        จุดมุ่งหมาย/ จุดประสงค์คณิตศาสตร์   
                           1.) ให้สามารถใช้เหตุผลแก้ไขปัญหาได้
                           2.)  มีทักษะในการคิดคำนวณ
                           3.)  มีความคิดรวบยอด
                           4.)  พัฒนาเจตคติที่ดีในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
อ้างอิงจาก  เยาวมา เดชคุปติ. (2542).การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย.
                    นศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551).การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
        วัตถุประสงค์ (ทฤษฏีการสอนคณิตศาสตร์)
                           1.) สมรรถภาพด้านเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
                           2.) ความรู้และเข้าใจในเนื้อหา
                           3.) มีแรงเสริมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้
อ้างอิงจาก  เพ็ญจันทร เงียบประเสริฐ. (2542). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย.
                    ประยูร  อาษานาม (2537). การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
                    ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
                            1.) การนับจำนวนตัวเลข
                                       - การนับ
                                       - การเรียงลำดับ
                                       - ตัวเลข
                            2.) การเปรียบเทียบ
                            3.) การบอกเหตุผล
                            4.) เศษส่วน การอัด
                            5.) การจัดประเภท
                            6.) การเปรียบเทียบปริมาณ
อ้างอิงจาก    นิตยา  ประพฤติกิจ  (2541) . คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย . 
                     นศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551).การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
          หลักการสอนคณิตศาสตร์
                            1.) การกำหนดความมุ่งหมายของการเรียนที่เด่นชัด
                            2.) ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม
                            3.) เอาใจใส่ในบทเรียน
                            4.) เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
                            5.) ใช้ประโยชน์จากคณิตศาสตร์
                            6.) มีความคิดรวบยอด
                            7.) ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็ก
 อ้างอิงจาก      นิตยา  ประพฤติกิจ  (2541) . คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย . 
                         นศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551).การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.


วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555



- อาจารย์ให้เพื่อนๆ ลิงค์ Blog กับอาจารย์
- เช็คชื่อนักศึกษา
- อาจารย์ให้เขียนคำว่า Math Experience  และ Early childhood
- อาจารย์สอนทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านสติปัญญา มี 2นักทฤษฏี  คือ บรูเนอร์ และเพียเจต์ แต่อาจารย์จะยกเอาทฤษฏีของเพียเจต์ ดังนี้


ทฤษฎีการเรียนรู้  ค้นคว้าเพิ่มเติม
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
1. พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.1  ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ปี
1.2  ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
        แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก ขั้น คือ     
        1. ขั้นก่อนเกิดสังกัป เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี      
        2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี    1.3  ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
1.4  ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี

สิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี ขั้น ได้แก่               
2.หาผู้ให้ความหมายคณิตศาสตร์มา 1 คน
3.หาจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การสอนคณิตศาสตร์
4.หาทฤษฎีที่ใช้ในการสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มา 1 ทฤษฎี
5.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
6.หลักการสอนคณิตศาสตร์


      1. ขั้นความรู้แตกต่าง               
      2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม                 
      3. ขั้นรู้หลายระดับ                 
      4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง                
      5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ                
      6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว
 เด็กเก็บเหตุการณ์อยู่ในสมอง แต่เมื่อใดพฤติกรรมเปลี่ยน เด็กจะเกิดการเรียนรู้
งานที่ได้รับมอบหมาย
1.ไปสำรวจที่สำนักวิทยบริการว่ามีหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อะไรบ้าง ให้นำมาศึกษา 1 เล่ม
2.หาผู้ให้ความหมายคณิตศาสตร์มา 1 คน
3.หาจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การสอนคณิตศาสตร์
4.หาทฤษฎีที่ใช้ในการสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มา 1 ทฤษฎี
5.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง6.หลักการสอนคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 1


วันที่ 2  พฤศจิกายน 2555

        สัปดาห์แรกของการเรียนการสอนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์ปฐมนิเทศนักศึกษาและวางข้อตกลงในการเรียนรายวิชานี้    แล้วให้นักศึกษาหาความหมายของคณิตศาสตร์ตามที่เราเข้าใจมา 2 ประโยคและความคาดหวังที่จะได้ในรายวิชานี้

             1.เขียนประโยค 2 ประโยค เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คืออะไร 
             2.เขียนความคาดหวังในการเรียนรายวิชานี้ว่าจะได้ความรู้หรือประสบการณ์อย่างไร ?ท้ายคาบอาจารย์ได้ฝากการโพสต์บล๊อคว่าทำให้เรียบร้อยและอาจารย์จะตรวจในวันถัดไป