เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4

วันที่ 23 พฤศจิกายน  2555



ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะศึกษาสตร์ กำหนดจัด "โครงการกีฬาสีสัมพันธ์"

ข้าพเจ้าเข้าร่วมกิจกรรมสแตนเชียร์ค่ะ  (ชนะเลิศ) - -!

บรรยากาศภายในงานกีฬาสี  มันมั๊กมากๆๆๆๆๆๆ

สีฟ้าทำการแสดง

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 16 พฤศจิกายน  2555


อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มโดย แบ่งกลุ่มละ 3  คน  กลุ่ม   โดยสรุปเนื้อหาของคณิตสาสตร์ไว้ดังนี้ 
สรุปโดย    นางสาวปรางค์ทิพย์  แก้วมาเมือง
                  นางสาวพริพย์  ศรีแก้ว
                  และนางสาวกานต์ชนก  ขุนวัง
        ความหมายของคณิตศาสตร์  คือ คณิตศาสตร์เป็นการส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้  ที่สอดคล้องเข้าในเรื่องของตัวเลข และจำนวน คณิตสาสตร์ใช้ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา  เช่น ดูเวลา ระยะทาง เป็นต้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือที่สร้างเสริมทักษะด้านต่างๆ รวมไปถึงกิจวัตรประจำวัน  และยังเป็นการวางแผน แก้ไขปัญหา ได้เรียนรู้ แล้วพัฒนาความคิดรวมยอด
 อ้างอิงจาก  นิตยา  ประพฤติกิจ  (2541) . คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย . 
                     นศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551).การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
        จุดมุ่งหมาย/ จุดประสงค์คณิตศาสตร์   
                           1.) ให้สามารถใช้เหตุผลแก้ไขปัญหาได้
                           2.)  มีทักษะในการคิดคำนวณ
                           3.)  มีความคิดรวบยอด
                           4.)  พัฒนาเจตคติที่ดีในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
อ้างอิงจาก  เยาวมา เดชคุปติ. (2542).การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย.
                    นศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551).การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
        วัตถุประสงค์ (ทฤษฏีการสอนคณิตศาสตร์)
                           1.) สมรรถภาพด้านเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
                           2.) ความรู้และเข้าใจในเนื้อหา
                           3.) มีแรงเสริมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้
อ้างอิงจาก  เพ็ญจันทร เงียบประเสริฐ. (2542). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย.
                    ประยูร  อาษานาม (2537). การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
                    ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
                            1.) การนับจำนวนตัวเลข
                                       - การนับ
                                       - การเรียงลำดับ
                                       - ตัวเลข
                            2.) การเปรียบเทียบ
                            3.) การบอกเหตุผล
                            4.) เศษส่วน การอัด
                            5.) การจัดประเภท
                            6.) การเปรียบเทียบปริมาณ
อ้างอิงจาก    นิตยา  ประพฤติกิจ  (2541) . คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย . 
                     นศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551).การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
          หลักการสอนคณิตศาสตร์
                            1.) การกำหนดความมุ่งหมายของการเรียนที่เด่นชัด
                            2.) ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม
                            3.) เอาใจใส่ในบทเรียน
                            4.) เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
                            5.) ใช้ประโยชน์จากคณิตศาสตร์
                            6.) มีความคิดรวบยอด
                            7.) ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็ก
 อ้างอิงจาก      นิตยา  ประพฤติกิจ  (2541) . คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย . 
                         นศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551).การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.


วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555



- อาจารย์ให้เพื่อนๆ ลิงค์ Blog กับอาจารย์
- เช็คชื่อนักศึกษา
- อาจารย์ให้เขียนคำว่า Math Experience  และ Early childhood
- อาจารย์สอนทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านสติปัญญา มี 2นักทฤษฏี  คือ บรูเนอร์ และเพียเจต์ แต่อาจารย์จะยกเอาทฤษฏีของเพียเจต์ ดังนี้


ทฤษฎีการเรียนรู้  ค้นคว้าเพิ่มเติม
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
1. พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.1  ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ปี
1.2  ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
        แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก ขั้น คือ     
        1. ขั้นก่อนเกิดสังกัป เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี      
        2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี    1.3  ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
1.4  ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี

สิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี ขั้น ได้แก่               
2.หาผู้ให้ความหมายคณิตศาสตร์มา 1 คน
3.หาจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การสอนคณิตศาสตร์
4.หาทฤษฎีที่ใช้ในการสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มา 1 ทฤษฎี
5.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
6.หลักการสอนคณิตศาสตร์


      1. ขั้นความรู้แตกต่าง               
      2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม                 
      3. ขั้นรู้หลายระดับ                 
      4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง                
      5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ                
      6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว
 เด็กเก็บเหตุการณ์อยู่ในสมอง แต่เมื่อใดพฤติกรรมเปลี่ยน เด็กจะเกิดการเรียนรู้
งานที่ได้รับมอบหมาย
1.ไปสำรวจที่สำนักวิทยบริการว่ามีหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อะไรบ้าง ให้นำมาศึกษา 1 เล่ม
2.หาผู้ให้ความหมายคณิตศาสตร์มา 1 คน
3.หาจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การสอนคณิตศาสตร์
4.หาทฤษฎีที่ใช้ในการสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มา 1 ทฤษฎี
5.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง6.หลักการสอนคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 1


วันที่ 2  พฤศจิกายน 2555

        สัปดาห์แรกของการเรียนการสอนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์ปฐมนิเทศนักศึกษาและวางข้อตกลงในการเรียนรายวิชานี้    แล้วให้นักศึกษาหาความหมายของคณิตศาสตร์ตามที่เราเข้าใจมา 2 ประโยคและความคาดหวังที่จะได้ในรายวิชานี้

             1.เขียนประโยค 2 ประโยค เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คืออะไร 
             2.เขียนความคาดหวังในการเรียนรายวิชานี้ว่าจะได้ความรู้หรือประสบการณ์อย่างไร ?ท้ายคาบอาจารย์ได้ฝากการโพสต์บล๊อคว่าทำให้เรียบร้อยและอาจารย์จะตรวจในวันถัดไป