วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
นิยามของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความหมายของนักศึกษากลุ่มเรียน 102
อ้างอิงจาก(นิตยา ประพฤติกิจ 2541 : 1-19) กล่าวไว้ดังนี้
1.) การนับ
2.) ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ทางภาษาที่ไว้สำหรับเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่เป็นสากล
3.) การจับคู่ คือ การจับคู่รูปร่าง , รูปทรง ,จำนวนที่เท่ากัน , เลขคู่ , เลขคี่
- จับคู่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น เครื่องหมาย + กับเครื่องหมาย +
- จับคู่สูง ต่ำ
4.) การจัดประเภท คือ การกำหนดเกณฑ์ขึ้น แต่ต้องเป็นเกณฑ์เดียว
5.) การเปรียบเทียบ คือ การหาปริมาณแล้วนำค่านั้นมาเปรียบเทียบ เช่น การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยการลบเลข แล้วนำค่าที่ได้นั้นมาเปรียบเทียบ
6.) การจัดลำดับ โดยการหาค่าปริมาณ นำมาเปรียบเทียบ วางเรียงลำดับ และนำตัวเลขมากำกับลำดับ
7.) รูปทรงและเนื้อที่
8.) การวัด คือการหาค่าที่เป็นปริมาณ ฯลฯ เครื่องมือในการวัด มี ไม้บรรทัด ตะลับเมตร สายวัด หน่วย เป็นต้น
9.) เชต คือ การเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องนั้นๆซึ่งเป็นการสอนเรื่องเชตอย่างง่าย
10.) เศษส่วน
11.) การทำตามแบบหรือลวดลาย เช่น การเขียนตัว A
12.) การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
(เยาวพา เดชะคุปต์ ได้ให้ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้)
1.) การจัดกลุ่มหรือเชต ได้แก่ การจับคู่ 1: 1 , การจับคู่สิ่งของ , การรวมกลุ่ม กลุ่มที่เท่ากันและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2.) จำนวน 1- 10 เช่น การฝึกนับ 1- 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3.) ระบบจำนวน และชื่อของตัวเลข เช่น 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4.) ความสัมพันธ์ระหว่างเชตต่างๆ เช่น เชตรวม การแยกเชต ฯลฯ
5.) คุณสมบัติของคณิตศาสตร์ จากการรวมกลุ่ม
6.) ลำดับที่สำคัญและประโยชน์ ได้แก่ ประโยชน์คณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาณ คุณภาพต่างๆ
7.) การวัด
8.) รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบ รูปร่าง ขนาดระยะทาง เช่น รูป
9.) สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่างๆ
จากความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ (นิตยา ประพฤติกิจ และ เยาวพา เดชะคุปต์) ที่ได้กล่าวไว้มีข้อที่แตกต่างกันอยู่สองเรื่อง คือเรื่อง สถิติ กับ กราฟ
หมายเหตุ อาจารย์ให้จับคู่ทำงาน ให้ทำนิยามของคณิตศาสตร์ 12 ข้อ ซึ่งคู่ของดิฉันทำเรื่อง ดอกไม้